ในยุคที่มีเดียต่างๆ นิยมชมผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเพลงหรือภาพยนตร์ ผู้บริโภคเริ่มเลือกที่จะอยู่บ้านแล้วใช้บริการสตรีมมิ่งที่มีให้เลือกมากมาย แต่สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไมไ่ด้ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ การละเมิดลิขสิทธิ์สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงหรือภาพยนตร์ ทำให้ผู้ผลิตสื่อเหล่านี้ต่างงัดมาตรการขึ้นมาป้องกัน แต่ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเปิดเผยว่า ค้นพบช่องโหว่บนเว็บบราวเซอร์ชื่อดังอย่าง Chrome รวมถึง Chromium ด้วย ที่จะทำให้สามารถบันทึกวิดีโอที่เล่นผ่านบราวเซอร์ บันทึกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
เทคนิคที่ส่วนใหญ่ใช้กัน คือ Google Widevine ที่จะทำการเข้ารหัสตัวไฟล์ไว้ เมือ่จะเล่นไฟล์จะมีการเรียกขอตรวจสอบลิขสิทธิ์ในการเปิดไฟล์ก่อนเล่นผ่านบราวเซอร์ ลองดูหลักการทำงานจากภาพคร่าวๆ ด้านล่างนี้ครับ
Method 1: Callback Authentication
Method 2: Upfront Token Authentication
ช่องโหว่ที่ผู้เชี่ยวชาญพบก็คือ เจ้า Google Widevine นี้ทำการเช็คลิขสิทธิ์ในการเปิดให้ก็จริง แต่ไม่ได้มีขั้นตอนตรวจสอบว่าไฟล์นั้นถูกเล่นบนบราวเซอร์เท่านั้นหรือไม่ ทำให้สามารถใช้ช่องโหว่นี้ในการดักไฟล์วิดีโอดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญไม่มีแผนจะเปิดเผยช่องโหว่ดังกล่าวนี้ออกสู่สาธารณะ จนกว่าช่องว่างกังกล่าวจะถูกปิดลงเสียก่อน ซึ่งานนี้ Google น่าจะต้องรีบแก้ไขโดยด่วน หากยังต้องการให้บรรดาอุตสาหกรรมสื่อไว้ใจเลือกใช้งานต่อไปอยู่